การหนุนเสริมภาคประชาสังคมยังคงเป็นหัวใจสำคัญของโครงการในปีที่ 3 และในกิจกรรมต่าง ๆ ก็เป็นโอกาสที่พวกเขาจะได้หยิบยกทักษะและความรู้ทางเทคนิคที่ได้รับมาตลอด 3 ปี มาปรับใช้ในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นด้านการบริหารโครงการและการเงิน การสื่อสารสาธารณะและสร้างการรับรู้ การทำงานพัฒนาบนฐานสิทธิมนุษยชน และการสร้างความร่วมมือหลายกับหน่วยงานรัฐและเอกชน พวกเขามีความมีความมั่นใจมากขึ้นและคล่องแคล่วในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ และแสดงให้เห็นถึงความเป็นเครือข่ายที่ชัดเจน มีระบบ และสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างดีแม้จะอยู่คนละพื้นที่ นี่ไม่เพียงสร้างความมั่นใจว่าองค์กรภาคประชาสังคมภายใต้โครงการจะสามารถขยายผลการใช้นวัตกรรม Active Learning ไปสู่ 400 โรงเรียนตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ และสร้างกลไกการบริหารจัดการโรงเรียนอย่างมีส่วนร่วมและมีธรรมาภิบาล แต่เรายังเชื่อว่า แม้หลังจากโครงการ ACCESS School สิ้นสุดลง พวกเขาจะสามารถดำเนินภารกิจในการพัฒนาการศึกษาในพื้นที่ของตนต่อไปได้อย่างยั่งยืน
ติดตามเรื่องราวการเปลี่ยนแปลง และความสำเร็จของโครงการที่เกิดขึ้นในปี 3 ได้ในจดหมายข่าว Full Access: จดหมายข่าวโครงการ ACCESS School ฉบับที่ 3
ดาวน์โหลดจดหมายข่าว
โครงการ ACCESS School คือ โครงการที่ได้รับทุนสนับสนุนโดยสหภาพยุโรป ระยะเวลา 4 ปี (พ.ศ. 2563-2566) บริหารโครงการโดยมูลนิธิแอ็คชั่นเอด ประเทศไทย สมาคมสภาการศึกษาทางเลือกไทย และสมาคมไทบ้าน ในการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็กในพื้นที่ชนบท โดยมุ่งส่งเสริมให้ภาคประชาสังคมมีส่วนร่วมและบทบาทในการบริหารจัดการสถานศึกษาในชุมชนของตน