ชื่อโครงการ

โครงการเสริมสร้างศักยภาพองค์กรภาคประชาสังคมในการต่อสู้โรคโควิด 19 ในประเทศไทย – ปฏิบัติการทั่วประเทศ (โครงการอียูรับมือโควิด)

ที่มาโครงการ

มูลนิธิแอ็คชั่นเอด ประเทศไทย ทำงานกับกลุ่มชุมชนชายขอบที่ประสบปัญหาโรคระบาดโควิด-19 ตั้งแต่เริ่มแพร่ระบาดในประเทศไทย ร่วมกับองค์กรภาคีร่วมโครงการ ได้แก่ มูลนิธิชีววิถี มูลนิธิชุมชนไท และมูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและอาชีพ องค์กรเหล่านี้มาร่วมกันเฉพาะกิจเพื่อช่วยเหลือชุมชนในการบรรเทาทุกข์ ฟื้นฟูและการตั้งรับปรับตัว กลุ่มคนไร้รัฐที่อาศัยตามแนวเขตแดนระหว่างไทยกับพม่า แรงงานต่างด้าวจากพม่า ลาว เขมร ที่ไม่สามารถกลับประเทศได้เนื่องจากการประกาศปิดประเทศของไทย รวมถึงแรงงานนอกระบบในเขตเมือง ชุมชนยากจนในเขตเมืองกึ่งย่านอุตสาหกรรม คนยากจนในเขตชนบท ซึ่งรวมถึงเกษตรกรรายย่อย และกลุ่มชาติพันธุ์ องค์กรเหล่านี้ได้ทำงานในการช่วยบรรเทาทุกข์แก่ชุมชนที่เปราะบาง ซึ่งนำไปสู่การฟื้นฟูและสนับสนุนความเป็นไปได้ในการตั้งรับปรับตัวในช่วงต่อจากการบรรเทาทุกข์อีก 2 ปี มูลนิธิแอ็คชั่นเอด ประเทศไทย และกลุ่มองค์กรภาคีความร่วมมือนี้ได้ร่วมกันเตรียมการออกแบบกิจกรรม โดยให้ความสำคัญต่อผู้หญิง เด็ก คนชรา และผู้พิการในชุมชนเป้าหมาย องค์กรภาคประชาสังคมและองค์การชุมชนลำดับสามที่ได้รับทุนโครงการย่อยอีก 7 องค์กรซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการ

พื้นที่ปฏิบัติการ

28 จังหวัดใน 5 ภูมิภาค คือ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน

กรกฏาคม 2563 – กรกฏาคม 2565 (24 เดือน) รวมถึงความเป็นไปได้ที่จะเกิดการระบาดของโรคโควิด-19 ในช่วงต่าง ๆ ในภายหลัง ระบบเศรษฐกิจจะค่อย ๆ เปิดอย่างค่อยเป็นค่อยไปและสนับสนุนความต้องการของชุมชนที่จะรวมพลังทำงานด้วยกันอีกครั้ง

วัตถุประสงค์ของโครงการ

    • วัตถุประสงค์โดยรวม: เพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วมขององค์กรภาคประชาสังคมของไทยในการทำงานกับชุมชนต่าง ๆ ในประเทศไทยที่มีความเปราะบาง ในการป้องกัน จัดการแก้ไข ลดความเสี่ยงและช่องว่างต่าง ๆ ในบริบทของโรคโควิด-19
    • วัตถุประสงค์เฉพาะ: เพื่อสนับสนุนและสร้างเสริมศักยภาพและการมีส่วนร่วมขององค์กรภาคประชาสังคมของไทยในการต่อสู้ ฟื้นฟู และสร้างการตั้งรับปรับตัวให้กับชุมชนต่าง ๆ ที่มีความเปราะบางมากที่สุดเพื่อลดผลกระทบต่าง ๆ ทางด้านสุขภาพ เศรษฐกิจและสังคมที่เกิดจากโรคโควิด-19 ที่ระบาดไปทั่วโลก

โครงการอียูรับมือโควิด EU COVID-19 Response and Recovery in Thailand – Nationwide Intervention

กลุ่มเป้าหมาย

    • ชุมชนที่มีความเปราะบางที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โรคโควิด-19 ได้แก่ 1. กลุ่มแรงงานข้ามชาติที่มาจากประเทศใกล้เคียง เช่น พม่า กัมพูชา และลาว 2. แรงงานนอกระบบในเขตเมือง 3. กลุ่มชาติพันธุ์ ชาวเล 4. กลุ่มคนไร้รัฐ 5. ชุมชนคนจนในเมือง 6. ชุมชนคนจนในชนบท รวมถึง เกษตรกรรายย่อย 7. โรงเรียนและศูนย์ชุมชน ประกอบด้วยเด็กจำนวน 12,970 คน (เด็กหญิงจำนวน 5,780 คน) จำนวนกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ รวมทั้งสิ้นประมาณ 387,038 คน
    • องค์กรภาคีร่วม ได้แก่ มูลนิธิชีววิถี มูลนิธิชุมชนไท มูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและอาชีพ และ อีก 7 องค์กรลำดับสามที่ได้รับทุนโครงการย่อย
    • เจ้าหน้าที่ภาครัฐ จากกระทรวงแรงงาน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงการคลัง รวมทั้งเจ้าหน้าที่ภาครัฐในระดับท้องถิ่น

ผู้ได้รับประโยชน์เมื่อเสร็จสิ้นโครงการ

ประชากรจำนวน 9,500,000 คน จากการผลักดันนโยบายและโครงการช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ในพื้นที่ต่าง ๆ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    • การช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ให้กับชุมชนชายขอบที่เผชิญกับปัญหามากที่สุด: องค์กรภาคประชาสังคมให้การช่วยเหลืออย่างทันทีแก่ชุมชน และชุมชนสามารถเข้าถึงบริการสาธารณะต่าง ๆ ที่สำคัญ รวมทั้ง ระบบสุขภาพและชุมชนเปราะบางที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19 สามารถเข้าถึงข่าวสารได้
    • การฟื้นตัวและการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม: องค์กรภาคประชาสังคมสนับสนุนและให้ข้อเสนอแนะกับเจ้าหน้าที่ระดับท้องถิ่นและเจ้าหน้าที่ภาครัฐส่วนต่าง ๆ เกี่ยวกับมาตรการทางเศรษฐกิจและสังคมเพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนทางสังคมในการที่จะช่วยเหลือชุมชนที่มีความเปราะบางที่สุดในประเทศไทยได้สามารถฟื้นตัวและได้รับการฟื้นฟูจากผลกระทบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากโรคโควิด-19
    • สร้างการตั้งรับปรับตัวและความพร้อมของชุมชนเปราะบาง: องค์กรภาคประชาสังคมเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนและเจ้าหน้าที่ระดับท้องถิ่นในการเตรียมความความพร้อมและการตั้งรับปรับตัวเพื่อต่อสู้กับวิกฤติต่างๆ ด้านสุขภาพ ด้านเศรษฐกิจและสังคมที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

กิจกรรมหลัก

    • การช่วยเหลือด้านอาหาร ที่พักพิงชั่วคราว การเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุข อุปกรณ์ป้องกันส่วนตัว ถุงยังชีพสำหรับกลุ่มเป้าหมาย กิจกรรมเน้นกลุ่มผู้หญิงและเด็ก การช่วยเหลือด้านกฎหมายให้กับกลุ่มแรงงานข้ามชาติ การรณรงค์ด้านข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับโรคโควิด-19
    • การพัฒนาทักษะต่าง ๆ และสร้างการตั้งรับปรับตัวในการดำรงชีวิตให้กับชุมชนเปราะบาง การช่วยเหลือเพิ่มเติมของความต้องการด้านอาหาร นวัตกรรมการแก้ไขปัญหา การผลักดันนโยบายเกี่ยวกับความมั่นคงทางสังคม การฝึกอบรมเกี่ยวกับความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยของผู้ประกอบอาชีพ
    • ชุมชนสีเขียวนำร่อง จัดตั้งระบบการแลกเปลี่ยนสินค้าในชุมชน สร้างการตั้งรับปรับตัวให้กับชุมชนเป้าหมาย

โครงการอียูรับมือโควิด EU COVID-19 Response and Recovery in Thailand – Nationwide Intervention

มีส่วนร่วมกับเรา